วิธีอ่านใบเซอร์เพชร GIA ฉบับเข้าใจง่าย ไม่ต้องเป็นมืออาชีพก็เข้าใจได้ ภายใน 10 นาที

ใบเซอร์เพชรจาก GIA (Gemological Institute of America) ถือเป็นหนึ่งในใบเซอร์เพชรที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือมากที่สุดจากสถาบันอัญมณีชื่อดังของอเมริกา ซึ่งวิธีดูเพชร GIA หรือการอ่านรายงานของใบเซอร์เพชร GIA Diamond Grading Report นั้นไม่ยากเลย หากเพชรชิ้นไหนที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพจาก ​GIA แล้ว เพชรชิ้นนั้นจะมีการสลักเลเซอร์ไว้ลงบนตัวเพชรชิ้นนั้นเพื่อให้เจ้าของเพชรมั่นใจได้ว่าเพชรชิ้นนี้ผ่านการรับรองมาแล้วจริงๆ

วิธีอ่านใบเซอร์เพชร GIA ฉบับเข้าใจง่าย ไม่ต้องเป็นมืออาชีพก็เข้าใจได้ ภายใน 10 นาที
ภาพจาก gia.edu


วันนี้เราจะพาไปสำรวจกันทีละข้อว่าในแต่ละจุดในใบเซอร์ GIA นั้นมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง แต่ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ก่อนว่าวิธีการอ่านรายงานใบเซอร์เพชรจาก GIA จะอ้างอิงตามหลักการของการประเมินเพชรตามหลัก 4Cs ได้แก่ สี (Color), ความสะอาดของเพชร หรือความบริสุทธิ์ (Clarity), การเจียระไน (Cut), และน้ำหนักของเพชรเป็นกะรัต (Carat Weight) ซึ่งใบเซอร์นี้จะบอกถึงลักษณะเฉพาะของเพชร สัดส่วนของเพชรชิ้นนั้น ซึ่งจะต้องมีน้ำหนักตั้งแต่ 0.15 กะรัตขึ้นไปเท่านั้น

ภาพจาก gia.edu

สังเกตในส่วนของแรกใบเซอร์จะมีข้อมูลดังนี้

  1. Date – วันที่ GIA ตรวจสอบเพชร
  2. หมายเลขรายงาน (Report Number) – เป็นหมายเลขที่ลงทะเบียนอยู่ในฐานข้อมูลของ GIA ซึ่งจะมีจำนวน 10 หลักและไม่ซ้ำกัน
  3. รูปร่างและลักษณะการตัดแต่ง (Shape and Cutting Style) – รูปร่างของเพชร และลักษณะการเจียระไน
  4. ขนาด (Measurements) – ขนาดของเพชรที่ระบุเป็น “เส้นผ่าศูนย์กลาง – เส้นผ่าศูนย์กลาง x ความลึก” สำหรับเพชรทรงกลมและ “ความยาว x ความกว้าง x ความลึก” สำหรับเพชรทรงพิเศษ
  5. น้ำหนักเป็นกะรัต (Carat Weight) – น้ำหนักที่ระบุเป็นกะรัต ระบุถึงส่วนหนึ่งของกะรัตที่ใกล้เคียงที่สุด 1 กะรัตเท่ากับ 1/5 กรัม
ภาพจาก gia.edu
วิธีอ่านใบเซอร์เพชร GIA ฉบับเข้าใจง่าย ไม่ต้องเป็นมืออาชีพก็เข้าใจได้ ภายใน 10 นาที
ภาพจาก gia.edu
ภาพจาก gia.edu
  1. เกรดสีของเพชร (Color Grade) – คือการจัดลำดับสีของเพชรว่าเพชรของคุณอยู่ในเกรดไหน ซึ่งจะมีตั้งแต่สี D-Z เรียงลำดับตั้งแต่ไม่มีสี ไปจนถึงสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาล
  2. ความสะอาดของเพชร (Clarity Grade) – ไม่มีรอยตำหนิ หรือมีตำหนิเยอะ รวมถึงคุณภาพในการเจียระไน
  3. การเจียระไน (Cut Grade) – เช่น ความสมดุล สมมาตรของหน้าเพชร ความเรียบของผิวเพชรที่ส่งผลให้เกิดการสะท้อนแสงหรือกระจายแสงได้ดีแตกต่างกันออกไป สำหรับการจัดอันดับการเจียระไน จะมีตั้งแต่เกรด D- Z คือดีสุด-แย่สุด
ภาพจาก gia.edu

  1. ความเงา (Polish) – ความราบเรียบของพื้นผิวเพชร ประเมินตามเกณฑ์ตั้งแต่ดีที่สุดถึงแย่ที่สุด
  2. ความสมมาตร (Symmetry) – ความสมดุล สมมาตรของหน้าเพชร ความถูกต้องของเส้นขอบเพชร รูปร่าง ตำแหน่ง การจัดวาง และการจัดเรียงของส่วนประกอบของเพชร ประเมินตามเกณฑ์ตั้งแต่ดีที่สุดถึงแย่ที่สุด
  3. การประจายแสงฟลูออเรสเซนซ์ (Fluorescence) – คือปฏิกิริยาของเพชรเมื่อได้รับแสง ส่วนใหญ่เพชรที่ติด Fluorescence เมื่อได้รับจะมีสีฟ้า และเพชรที่ไม่ติด Fluorescence จะไม่มีสีฟ้า เพราะฉะนั้นจึงได้รับความนิยมมากกว่า หากเพชรไม่ติด Fluorescence ในใบเซอร์จะระบุว่า None แปลว่าไม่มี (ใบเซอร์ HRD ระบุว่า Nil)
  4. ข้อความที่แสตมป์ (Inscription) – จุดนี้คือข้อความที่เป็นลักษณะโลโก้ และหมายเลข GIA Report Number ที่สลักลงบนเพชร ซึ่งจะเป็นตัวเลขเดียวกันกับใบเซอร์เพชร
  5. ความคิดเห็น (Comments) – ลักษณะอื่นๆ เพิ่มเติมที่ไม่แสดงอยู่ในรายงาน
ภาพจาก gia.edu
  1. แผนผังสัดส่วน (Proportion Diagram) – การแสดงผลของสัดส่วนจริงของเพชร
ภาพจาก gia.edu
  1. แผนผังการจัดตำแหน่ง (Plotted Diagram) – การประมาณรูปร่างและลักษณะการตัดแต่งของเพชร สัญลักษณ์แสดงประเภทหรือลักษณะ ตำแหน่ง ขนาดประมาณของลักษณะความบริสุทธิ์
  2. สัญลักษณ์สำหรับแผนผัง (Key to symbols) – รายการลักษณะ และสัญลักษณ์ที่แสดงในแผนผังการจัดตำแหน่ง (หากมี)
ภาพจาก gia.edu

  1. มาตราสี GIA (GIA Color Scale) – แสดงให้เห็นการจัดอันดับสีของ GIA และตำแหน่งสัมพันธ์ ในหลักการจัดอันดับสีเพชรของ GIA
  2. มาตราความบริสุทธิ์ GIA (GIA Clarity Scale) – แสดงให้เห็นการจัดอันดับความบริสุทธิ์ของ GIA และตำแหน่งสัมพันธ์ของมันในระบบการจัดอันดับความบริสุทธิ์ของเพชรของ GIA
  3. มาตราการตัด GIA (GIA Cut Scale) – แสดงให้เห็นการจัดอันดับการตัดของ GIA และตำแหน่งสัมพันธ์ของมันในระบบการจัดอันดับการตัดของเพชรของ GIA มีให้ในเพชรทรงกลมมาตรฐานในช่วงสี D ถึง Z และช่วงความบริสุทธิ์ Flawless ถึง I3
  4. คุณสมบัติการรักษาความปลอดภัย (Security Features) – การพิมพ์ขนาดเล็ก, หน้าจอรักษาความปลอดภัย, ลายน้ำ, บาร์โค้ดสองมิติ, ฮอโลแกรม และการระบุหมายเลขชีท เพื่อป้องกันความถูกปลอมและช่วยในการยืนยันเอกสาร
  5. QR Code ข้อมูลของใบเซอร์เพชรฉบับนี้
ภาพจาก gia.edu

รวมทุกความรู้เรื่องเพชร ก่อนตัดสินใจหาซื้อ แลกเปลี่ยน หรือฝากขายเพชร สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเพชร รวมถึงใบเซอร์เพชร การออกใบเซอร์เพชร GIA ได้ที่ไหน? เปรียบเทียบระหว่างใบเซอร์เพชร GIA กับ เพชร IGI แตกต่างกันอย่างไร? สามารถอ่านบทความกับเราได้ หากคุณมีเครื่องประดับเพชร พลอย ทองคำ งานโบราณ สร้อยสังวาลย์ หรือชุดเครื่องเพชรทุกแบบทุกชนิด เราพร้อมรับซื้อ รับฝากขาย หรือสนใจดูเครื่องเพชรชิ้นใหม่ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ ติดต่อร้านเพชรพรพุฒิ Add Line: @petchpornput โทร. 084-171-7178